ถ้าจะพูดถึงหนึ่งในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เก่าแก่อย่างหนึ่ง ต้องมีใครหลายๆคนนึกถึงเทคโนโลยีที่เรียกว่า Tape กันบ้าง และไม่เพียงแต่มันจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น สมัยก่อนในยุค 90 เราคงได้ผ่านการฟังเพลงจากเทปคาสเซ็ท หรือที่เราเรียกติดปากกันว่าเทปกันมาบ้างอยู่แล้ว เดี๋ยวผมจะมาเล่าว่าทำไมเทคโนโลยีที่เรียกว่าเทปยังไม่หายไปจากวงการคอมพิวเตอร์ซักที
ก่อนอื่นเรามาดูประวัติของ Tape กันก่อนนะครับว่ามีความเป็นมาอย่างไร ย้อนกลับไปเมื่อปี 1928s Fritz Pfleumer ได้คิดค้นเทคโนโลยีที่เรียกว่า Magenetic Tape ขึ้น เพื่อใช้สำหรับการบันทึกเสียง และหลังจากนั้นในปี 1950s อุปกรณ์ Magnetic tape Drive ตัวแรกที่ใช้กับวงการคอมพิวเตอร์ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นโดยใช้เป็นพื้นที่ Storage สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Mainframe โดยความจุในขณะนั้นอยู่ที่น้อยกว่า 1 Megabyte ซึ่งเมื่อเทียบกับข้อมูลในปัจจุบัน Tape Backup สามารถเก็บช้อมูลได้ถึง 45TB หรือ 45ล้าน Megabyteไปแล้ว !!
ในปัจจุบันจะเห็นว่าเทคโนโลยีเทปคาสเซ็ทถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีอื่นไปไกลมากแล้ว แต่ทำไมในวงการเทคโนโลยียังมีการใช้ Tape ในการจัดเก็บข้อมูลกันอยู่ เรามาดูข้อดี และข้อสังเกตของการใช้แบบ Tape Backup กันครับ
ข้อดี
1. ความทนทานของข้อมูลกรณีจัดเก็บในม้วนเทปสามารถเก็บข้อมูลได้นานถึง 30 ปี หรือมากกว่านั้นหากจัดเก็บในพื้นที่ที่เหมาะสม
2. ราคาเมื่อเทียบกับความจุที่ได้ โดยต้องยอมรับว่าราคา Tape ในปัจจุบันเมื่อเทียบกับความจุที่ได้สำหรับการจัดเก็บมีขนาดที่มีความคุ้มค่าอย่างมากสำหรับการสำรองข้อมูลเพราะราคาต่อความจุถูกกว่าการจัดเก็บรูปแบบอื่นเช่น Harddisk
3. การขนย้ายทำได้ง่ายและสะดวก เนื่องจากเรานิยมการใช้ Tape ในการทำ Backup เพราะฉะนั้นการเคลื่อนย้าย Tape ไปเก็บยังสถานที่ offisite สามารถทำได้อย่างง่ายดายและปลอดภัยจากการถูกกระแทกเนื่องจากไม่มีส่วนประกอบทางด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ
4. ความปลอดภัย เทปเป็นเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันการโจมตีจาก Ransomware ได้ดีที่สุดชนิดหนึ่งเนื่องมาจาก เราสามารถ offline ตัว Tape ได้รวมไปถึงการโจมตีจาก Ransomware ไม่สามารถติดต่อเข้าไปยัง Tape backup ได้อย่างแน่นอนเพราะไม่ได้แสดงรูปแบบการเชื่อมต่อในลักษณะ Drive letter ของ Server
ข้อสังเกต
1. แน่นอนเทคโนยีเทปต้องคู่กับ Tape Drive ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีไปใหม่กว่ามากๆ เราก็จะไม่สามารถใช้ Tape backup Gen เก่าๆ ไปใช้หัวอ่านที่เป็นรุ่นใหม่มากๆได้
2. ต้องยอมรับว่าการใช้งาน Tape backup จะมีการใช้ส่วนของ Tape Drive ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญชิ้นนึงคือมอเตอร์ สำหรับการหมุนเทปเพื่อทำการอ่านหรือเขียนทำให้อาจจะเกิดความเสียหายกับตัวเทปได้เช่น เทปพันกับหัวอ่านเป็นต้น
3. ความเร็วในการเขียนหรืออ่านกรณีต้องการใช้ข้อมูลในการ recovery หรือการ backup จะมีความช้ากว่าอุปกรณ์อื่นๆที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ทีนี้เรามาดูอนาคตของเทคโนโลยีเทปกันซึ่งในปัจจุบันเราจะอยู่ในยุคที่เรียก Tape Backup ตามมาตรฐาน LTO หรือ Linear Tape-Open โดยในปัจจุบันเราอยู่ในยุคของ LTO Gen 9 กันแล้ว โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 45TB แบบบีบอัดและยังพัฒนาความเร็วในการบีบอัดถึง 1000MB/s อีกทั้งจะเห็นว่า LTO Technology ยังมีแผน Roadmap ที่จะพัฒนาต่อเนื่องไปจนถึง Gen 14 ณ.ขณะนี้ซึ่งอย่างๆน้อยๆเราจะได้เห็นการพัฒนาต่อไปอีกมากกว่า 10 ปีเป็นอย่างน้อย
LTO Tape Media Gen9
หลังจากเรารู้เรื่อง Tape backup ไปแล้วทีนี้ส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะใช้ร่วมกับ Tape Backup เสนอก็หนีไม่พ้น Software ที่จะใช้ทำการ backup โดยในณ.เวลาปัจจุบันนี้ ก็ยังมี Software ที่สามารถ Backup ข้อมูลลง Tape ได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตัวที่นิยมกันมากใน Virtualization backup อย่าง Veeam Backup and replication หรือที่นิยมกันในระดับองค์กรขนาดใหญ่เช่น Veritas Netbackup หรือ Software ที่นิยมอื่นๆอีกอย่างเช่น Commvault, Arcserve, เป็นต้น
ของแถมก่อนจะจากกันจะขอพูดถึงกฎการ backup ที่โด่งดังคือ 3-2-1 Backup Rule จะขอย่อสั้นๆว่า แต่ละเลขมีความหมายว่าอะไรบ้างนะครับ
3 มาจากการต้องสำรองข้อมูลไว้อย่างน้อย 3 ชุด
2 มาจากการเก็บข้อมูลที่ได้สำรองบนอุปกรณ์ที่แตกต่างกันเช่น magnetic disk storage กับ Magnetic tape
1 มาจากการมีชุดข้อมูลสำหรับการ offline
โดยตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น การมี Tape Backup ก็จะสามารถตอบโจทย์ตาม Best Practice ทั้งหมายเลข 1 และ 2 ได้
หากผู้อ่านสนใจ Solution การทำ backup ต่างๆ กับระบบของท่านสามารถติดต่อเราเข้ามาเพื่อขอคำปรึกษาในการจะใช้งานเพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรของท่าน โดยเรามีทีมงานพร้อมให้คำปรึกษาการติดตั้งระบบต่างๆ ทางเรายินดีและมีทีมงานพร้อมและครบวงจรไม่ว่าจะเป็น System & Network Engineer, Software Developers , Database administrator , DevOps Engineer รวมถึง Cybersecurity Expert ที่มีประสบกาณ์มากกว่า 15 ปีพร้อมให้คำปรึกษาได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-513-9415-6 ติดต่อทีมขาย หรือที่ E-Mail : sales@tkl.co.th
Site Reference: https://en.wikipedia.org/wiki/Tape_drive
Comentarios